เหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ของ บริติชแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 9

ก่อนหน้านี้ในวันที่ 5 เมษายน เครื่องบินดีซี-9 ของสายการบินการูดาอินโดนีเซีย ซึ่งบินผ่านเข้าไปในเถ้าภูเขาไฟเช่นเดียวกันได้ประสบปัญหาเดียวกัน น่านฟ้าในบริเวณนั้นถูกปิดและเปิดใหม่อีกครั้งในเวลาต่อมา แต่หลังจากนั้นในวันที่ 13 กรกฎาคม ปีเดียวกัน เครื่องบินโบอิง 747 อีกลำหนึ่งของสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่เดินทางจากสิงคโปร์ไปยังเมลเบิร์นก็ประสบปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้องเช่นเดียวกัน[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 เครื่องบินโบอิง 747 ของสายการบินเคแอลเอ็ม เที่ยวบินที่ 867 ซึ่งเดินทางจากอัมสเตอร์ดัมไปยังโตเกียวผ่านแองเคอเรจ รัฐอะแลสกา ได้ประสบเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันเมื่อภูเขาไฟรีเดาท์ปะทุและเถ้าภูเขาไฟเข้าไปในเครื่องยนต์ เที่ยวบินที่ 867 ลงจอดที่แองเคอเรจได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถเดินทางไปยังโตเกียวได้และต้องถ่ายผู้โดยสารไปยังเครื่องบินอีกลำหนึ่ง[4]

เหตุการณ์นี้ถูกพูดถึงอีกครั้งในสื่อเมื่อภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ปะทุในปี พ.ศ. 2553 พ่นเถ้าถ่านไปทั่วน่านฟ้าในทวีปยุโรป ทำให้น่านฟ้าในทวีปยุโรปถูกสั่งปิดและเที่ยวบินหลายเที่ยวถูกยกเลิกเพื่อความปลอดภัย[2][5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: บริติชแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 9 http://www.bom.gov.au/info/vaac/galunggung.shtml http://edition.cnn.com/2010/TRAVEL/04/15/volcanic.... http://news.bbc.co.uk/1/hi/magazine/8622099.stm https://www.britishairways.com/en-gb/destinations/... https://www.flightstats.com/v2/flight-tracker/BA/9 https://www.nytimes.com/1989/12/16/us/jet-lands-sa... https://www.planespotters.net/airframe/Boeing/747/... https://www.geolsoc.org.uk/flight9